วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หนอนและแมลงศัตรูกุหลาบ



เรื่องแมลงศัตรูกุหลาบ ผมเองก็ยังเจอกับตัวเองไม่ครบทุกอย่างนะครับ ที่เอามาโพส ก็ก๊อบปีมาอีกนะครับ ต้องขออนุญาตและขอโทษผู้ที่โพสเป็นท่านแรกไว้ณที่นี้ด้วย

พวกหนอนและแมลงที่จะพบมากกับต้นกุหลาบก็มีดังนี้ครับ

  1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน
  2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน
  3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด
  4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน
  5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง
  6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต
  7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก
  8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม
  9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น
  10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน
สำหรับผมที่เจอบ่อยๆ ก็จะเป็น หนอนผีเสื้อ โดยมากก็เด็ดใบที่มีตัวหนอนทิ้งครับ แล้วก็เอาฟูราดานใส่โคนต้น(ฝัง) เพลี้ยไฟที่ชอบกินยอดอ่นและดอกตูม ผมเจอช่วงแรกๆ ที่ปลูกครับ หลังๆ ไม่มาอีกเลย เพราะผมจะพ่นยาที่ยอดอ่อนที่แตกใหม่ทุก 3-7 วันครับ ที่เจอแล้วหนักสุดสำหรับผมคือเพลี้ยหอยครับ กำลังหาทางแก้อยู่ ส่วนแมงมุมแดง ผมยังสังเกตอาการไม่เป็นครับ เลยไม่รูว่าตัวเองโดนหรือยัง?

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 มกราคม 2554 เวลา 02:02

    ปลูกในบริเวณเล็กๆของบ้านค่ะ ปลูกไว้ชม ปลูกไว้ดม..เจอใบหงิก ดอกก็ไม่บาน เซ็งเลยค่ะเป็นแมลงตัวเล็กๆเขียวๆ คิดว่าเป็ฯเพลี้ย มะมีความรู้ด้านเกษตรเท่าไหร่ แต่ใจอยากกำจัดแมลงแบบไม่ใช้สารเคมีมีวิธีไหนคะ เพราะตอนนี้ท้องอยู่ด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ปลูกน้อยๆ ถ้ามีหนอนลองใช้น้ำผงซักฟอกฉีดให้ทั่วใบห่างกัน 4-7 วันไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดราคาแพง

    ตอบลบ
  3. ที่เจออยู่น่าจะเป็นเพลี้ยไฟนะครับที่ทำให้ใบหงิกงอ ส่วนตัวเล็กๆเขียวๆผมก็ไม่ทราบว่าเป็นตัวอะไร อาจจะมีหลายโรคในต้นเดียวกัน แต่ถ้าเป็นเพลี้ยไปก็พอมีวิธีอยู่ครับที่ไม่ต้องใช้สารเคมี แต่ผมจำสูตรไม่ได้แล้ว รู้สึกจะมีเหล้าขาวหนึ่งอย่าง ไว้เดี๋ยวไปหามาให้นะครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ23 กันยายน 2554 เวลา 00:04

    รออยู่นะคะ โดนเพลี้ยไฟเหมือนกัน ช่วยหน่อยค่ะ

    ตอบลบ