วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

เรื่องเล่า.....ตำนานกุหลาบตอน 2


ณ ปัจจุบันกุหลาบยังเป็นไม้ดอกเศษรฐกิจสร้างรายได้ให้กับคนทั้งโลก ยิ่งเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศเหมาะสมอย่างเช่น เยอรมัน สเปน อิสราเอล อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โคลอมเบีย สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เคนยา ฝรั่งเศส ซิมบับเว แทนซาเนีย เอกวาดอร์ ประเทศเหล่านี้ปลูกเป็นไม้ส่งออกที่มีสายพันธุ์ที่ดี หลายๆ สายพันธุ์ บางสายพันธุ์ในบ้านเรานำมาปลูกบ้างเหมือนกัน

ภูมิอากาศทำให้ดอกใหญ่ไม่เต็มที่เท่าบ้านเขา แต่หากจะดูสายพันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ๆ แนะนำให้ไปดูที่ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ที่จังหวัดเชียงใหม่ในฤดูหนาว ดอกกุหลาบดอกจะใหญ่มาก

มีเรื่องเล่าสู๋กันฟัง คือเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 มีการประกวดพันธุ์ไม้หลายชนิดที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ติดกับพิพิธภัณฑ์เด็ก ดอกกุหลาบพันธุ์ควีนสิริกิติ์ ซึ่งเล็กมากเมื่อเทียบกับทางเชียงใหม่ ดอกห่างกัน 5 เท่า เจ้าหน้าที่บอกว่าเป็นเพราะฤดูกาล และอากาศทางกรุงเทพฯ ไม่ดีเท่าทางเหนือนั่นเอง แสดงว่ากุหลาบจะบาน ดอกใหญ่ งดงามนั้น ต้องมีปัจจัยหลายอย่างรวมกัน แต่ที่แน่ๆ คืออากาศที่เย็นเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

ในเรื่องเล่าประวัติความเป็นมาของกุหลาบ ก็เล่ากันไปต่างๆ นานา เป็นเรื่องธรรมดาเพราะกุหลาบมีอายุยืนนานย่อมมีเรื่องราวที่เล่าขานกันมานานเช่นกัน แต่ใจความสำคัญนั้นอยู่ที่ความเป็นอมตะของกุหลาบ ยากนักจะหาดอกไม้ชนิดไหนเปรียบได้ ทำให้หลายๆ คนหันมาสนใจดอกไม้สีสวย มีกลิ่นหอมชนิดนี้กันมาก แน่นอนคุณก็เป็นอีกคนที่สนใจอยากจะปลูกกุหลาบไว้เชยชมสักต้น ฉะนั้นลองมาทำความรู้จักกุหลาบอีกชนิด แล้วคุณจะรักกุหลาบมากขึ้น


บทความจากหนังสือกุหลาบราชินีแห่งดอกไม้
โดย อาจารย์เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น