วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ


สำหรับผู้ที่ปลูกกุหลาบ ถ้าใครไม่เคยตัดแต่งกิ่งกุหลาบเลย แล้วหวังจะให้ออกดอกงดงามคงเป็นไปได้ยากครับ เพราะการตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก หากปล่อยให้กุหลาบแตกกิ่งก้านสาขาเองอย่างอิสระ ก็จะทำให้แตกกิ่งมากเกินไป และก็ได้กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ดอกก็จะเล็กลง หากใบหน้าทึบเกินไปก็จะทำให้เป็นที่สะสมโรคกุหลาบและแมลงต่างๆ ฉนั้นจึงควรตัดแต่งกิ่งกุหลาบให้ลำต้นโปร่งอยู่เสมอ การตัดแต่งกิ่งบ่อยๆ ยังมีผลดีอีกคือ ช่วยให้แสงแดดลอดผ่านได้ดีกระตุ้นการแตกตาตามโคนต้น ซึ่งจะเป็นกิ่งกระโดงที่แข็งแรงต่อไป อีกทั้งยังทำให้เราดูแลดินในแปลงปลูกหรือกระถางได้ง่ายขึ้น โดยการตัดแต่งกิ่งผมจะทำอยู่ 3 ลักษณะ คือ
  1. การตัดดอก โดยปกติผมจะไม่ปล่อยให้ดอกแห้งตายคาต้นครับ จะชิงตัดก่อนที่จะเหี่ยว อาจเอาไปปักแจกันไหว้พระก็ได้นะครับ เพราะหากเราปล่อยให้ดอกเหี่ยวคาต้นบางครั้งกุหลาบอาจแตกกิ่งใหม่ออกมาใกล้ๆ ดอก ซึ่งจะเป็นกิ่งที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ ดอกที่จะออกต่อไปก็จะเล็กลงๆ ผมจะตัดต่ำจากดอกลงมาประมาณ 5 ใบ ครับ จะเป็นต่ำแหน่งที่จะแตกตาใหม่ได้ง่ายและสมบูรณ์ให้ดอกกุหลาบที่ใหญ๋ต่อไป
  2. การตัดแต่งทัึ่วไป โดยปกติผมจะทำเดือนละครั้งครับ จะเป็นการตัดเอากิ่งที่แห้งเหี่ยว กิ่งที่ไม่ค่อยแข็งแรง กิ่งที่เป็นโรคและแมลงรบกวน ตลอดจนกิ่งที่แทงเข้าหาทรงพุ่มออก หลังจากที่ตัดแต่งกิ่งในลักษณะนี้แล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ กุหลาบจะแตกกิ่งใหม่ออกมาเต็มไปหมด และจะเป็นกิ่งที่ค่อยข้างแข็งแรง เพราะจะค่อยถูกแย่งอาหาร
  3. ตัดเพื่อย้ายกระถางปลูก การตัดวิธีนี้จะเป็นการตัดสั้น คือจะเหลือแค่กิ่งหลักไว้กับลำต้นเท่านั้น ผมจะทำเมื่อย้ายกระถางกุหลาบ หรือกุหลาบถูกแมลงรบกวนมากๆ หรือเป็นโรคเท่านั้น เรียกว่าตัดไม่เหลือใบเลยครับ
ในการตัดกิ่งกุหลาบนั้นถ้าจะให้ดีควรพ่นยาฆ่าเชื้อราตรงรอยตัดด้วยนะครับ เพื่อป้องกันกิ่งติดเชื้อราแล้วแห้งตาย บางคนที่ไม่มียาฆ่าเชื้อราก็จะเอาปูนกินหมากสีแดงๆ นั้นแหละครับ ทาตรงรอยที่ตัด ที่สำคัญ กรรไกรตัดกิ่งควรทำความสะอาดก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น